เจาะลึกมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการจากผลกระทบ COVID – 19
by chayanit khemklad
จากสถานการโรคระบาด ณ ตอนนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น “การระบาดใหญ่” หรือ Pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปใน 118 ประเทศและดินแดนทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อกว่า 121,000 คน ทั้งได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 4,300 คนแล้ว และจัดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563
ซึ่งโดยปกติแล้ว โรคระบาดจะมีช่วงเวลาการแพร่เชื้อแล้วจะค่อยๆ ลดปริมาณการแพร่ลงก่อนจะหายไปด้วยตัวเอง แต่ ณ ขณะนี้ โควิด-19 มีความรุนแรงด้านการติดเชื้อมากขึ้น จึงยากจะตอบได้ว่าระยะเวลาในการควบคุมโรคจะยาวไปถึงเมื่อไหร่กันแน่ ซึ่งยิ่งกินระยะเวลานาน ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนมากยิ่งขึ้น
ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ธุรกิจสายการบิน การท่องเที่ยวและโรงแรม ที่จะได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเที่ยว
จากรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจและการเงินไตรมาสแรกปี 2563 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งจัดทำขึ้นก่อนการระบาดของโควิด-19 พบว่า มีการคาดการณ์รายได้จากทั้ง 4 ภาคธุรกิจทั้งประเทศ คือการค้า การผลิต ภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง และภาคบริการเป็นลบทั้งหมด ในขณะที่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและอัตราการจ้างงานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนต้นทุนทางธุรกิจ และข้อจำกัดในการทำธุรกิจมีทิศทางเป็นลบ แต่ในสถานการณ์จริง การมาของไวรัสดังกล่าวสร้างผลกระทบกับภาคบริการมากที่สุด ดังนั้นตัวเลขจริงของการติดลบมีโอกาสที่จะสูงกว่าที่ประเมินไว้ได้ โดยโรคระบาดถือเป็นปัจจัยที่เหนือความคาดหมายและการควบคุมของทุกฝ่าย
รัฐบาลจึงมีมาตรการออกมาเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา มีการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อหารือถึงมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น SMEs หรือรายใหญ่ และส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของประชาชนด้วย
ล่าสุดกรมสรรพากร ก็ได้มีการดำเนินการต่อจากการประชุม ครม. ซึ่งได้ออกมาตรการเยียวยาทางด้านภาษีมาทั้งหมด 6 มาตรการด้วยกัน ดังนี้
-
ลดอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย
จาก 3 % เหลือ 1.5 % เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดา
-
ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย
SMEs ที่เข้าร่วมมาตราการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของรัฐบาล หักรายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติม 1.5 เท่า
-
สนับสนุน SMEs จ้างงานต่อเนื่อง
มาตรการส่งเสริมการจ้างงานโดยให้ผู้ประกอบการนำรายจ่ายค่าจ้างลูกจ้าง หักลดหย่อนภาษีได้ถึง 3 เท่า
-
เพิ่มสภาพคล่อง ให้ผู้ส่งออกที่ดี
โดยคืน VAT เร็วขึ้นภายใน 15 วัน
-
เพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุนและตลาดทุน
โดยการขยายวงเงินการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม ลดหย่อยภาษีเพิ่ม 2 แสนบาท
-
สนับสนุนการบริจาคเงินเพื่อลดหย่อยภาษี
บริจาคได้ ลดหย่อน, หักรายจ่าย, ยกเว้น VAT
(รายละเอียดฉบับเต็ม 6 มาตรการ เข้าไปดูได้ที่ .. https://www.facebook.com/TheRevenueDepartment/posts/3278674298828028)
แม้การระบาดครั้งนี้ยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าจะสามารถใช้เวลานานเพียงใดที่จะควบคุมโรคระบาดให้อยูในภาวะปกติได้ และมีแค่เพียงการคาดการณ์ระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งยังไม่ได้พิจารณาปัจจัยการป้องกันควบคุมโรคและการรักษาได้อย่างสมบูรณ์ แต่เป้าหมายเพื่อลดโอกาสการสัมผัสโรคของประชาชนลงให้ได้มากที่สุด คือ การงดกิจกรรมรวมคน ส่งเสริมการทำงานจากบ้าน งดการเคลื่อนย้ายคนในหน่วยงานที่มีคนจำนวนมาก รวมทั้งป้องกันและควบคุมการเกิดการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ เช่น การระบาดใน โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน หรือในสถานที่ทำงาน เป็นต้น
แน่นอนว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำธรุกิจ และผู้ประกอบการที่ต้องหยุดชะงักลง อย่างไรก็ตามมาตรการเยียวยาและแก้ไขปัญหาช่วยเหลือผู้ประกอบการจากภาครัฐที่ออกมา อาจจะยังไม่ชัดเจนและมีข้อสงสัยจากประชาชน ซึ่งคงต้องมารอดูกันว่ามาตรการที่ออกมาเมื่อมีผลบังคับใช้จะสามารช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาได้อย่างไรบ้าง แต่ในระหว่างนี้ก็ขอให้ทุกคนระวังตัวและปฎิบัติตามคำแนะนำของสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรคระบาดอย่างเคร่งครัด และหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในเร็ววันนี้
อ้างอิง
https://techsauce.co/news/goverment-help-sme-startup-thai-covid-19
https://www.bbc.com/thai/international-51838536
https://www.facebook.com/TheRevenueDepartment/posts/3278674298828028
https://news.thaipbs.or.th/content/289799
ไม่มีภาพกิจกรรม
ไม่มีวิดีโอ