BCG Model ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพ SME เติบโตยั่งยืน
ในงานสัมมนาสรุปผลโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการ SMEs ตามกรอบ แนวคิด BCG Model เมื่อ 25 มี.ค. 2565 มี ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ รักษาการผู้ช่วยผู้อํานวยการ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มาร่วมเสวนา การขับเคลื่อนธุรกิจ SME ด้วยวิจัยและนวัตกรรมตามแนวคิด BCG Model
ดร.อัครวิทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยเผชิญปัญหากับดักรายได้ปานกลาง เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมที่ผ่านมาอาศัยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่ ปราศจากความยั่งยืน จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ก่อสังคมเกิดเหลื่อมล้ำทับถมยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีความหลากหลายทางชีวภาพและทางวัฒนธรรมเป็นทุนขับเคลื่อนและสามารถ นํามาพัฒนาเป็นสินค้าและบริการที่มีมลูค่าสูง โดยเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมานําทางการพัฒนา นวัตกรรมให้เติบโตแบบรวมกลุ่มและทั่วถึง (inclusive growth) ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่ง กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม(อว.)เรมิ่ผลักดันการขับเคลื่อน
แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย 3 แนวทาง 1. Bio Economy คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เน้นการ พัฒนาเศรษฐกิจจากทรัพยาการที่มีอยู่แล้วในประเทศ โดยใช้อย่างคุ้มค่า มุ่งเพิ่มผลผลิต สร้าง มูลค่าเพิ่ม รวมถึงลดคาร์บอนไดออกไซด์และของเสีย 2. Circular Economy คือ เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นความพยายามในการยืดอายุการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ยาวนานที่สุด เป็นการหมุนเวียนกลับมาใช้ ใหม่ และลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด อีกทั้ง 3. Green Economy คือ เศรษฐกิจสีเขียว เป็นการ พัฒนาที่ดูความสมดุลระหว่างการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยมุ่งผลิตแบบช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ปลอดภัยตั้งแต่จุดผลิตไปยังส่งต่อให้ผู้บริโภค
เป้าหมายของ BCG มุ่งเน้นไปที่ 4 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ ตลอดจนอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวและบริการ โดยนําหลักการทํางานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิมอย่าง รวมถึงสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิต สินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
ดร.อัครวิทย์ ยกตัวอย่างกระบวนการทํางานแบบ BCG ว่า เมื่อเราบริโภคปู เราต้องทําการอนุรักษ์ปูไว้ ด้วย อย่างการทําธนาคารปู คือการเพิ่มผลผลิตไปด้วย ในขณะที่เราก็บริโภคไปด้วย ไม่ปล่อยให้ ทรัพยากรหมดไปแล้วค่อยมาแก้ไขทีหลัง
พร้อมกับเชื่อมั่นว่า แนวทาง BCG จะเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจ เกษตรกร และชุมชน ที่ สําคัญยังเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศที่ทําให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่ม (Value creation) เพื่อ สร้างความมั่งคั่งและยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ประเทศมีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมี เสถียรภาพ ขยายโอกาสทางการค้าในเวทีโลก รวมถึงยังเกิดการจ้างงานรายได้สูง และเพิ่มระดับ รายได้ของแรงงานในอุตสาหกรรม BCG เกิดธุรกิจ Startup และไอดีอี หรือ Innovation-Driven Enterprise (IDE) ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการมุ่งเน้นนวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อตลาดใหญ่กว่า ตลาดในท้องถิ่น
“สิ่งสําคัญ คือ มูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นได้นั้น ธุรกิจต้องมีปัจจัยเน้นมอบสินค้าที่มีคุณค่า (Value Proposition) และมีคุณค่าที่แตกต่างกว่าคู่แข่งทางการค้า เพราะการทําธุรกิจเท่ากับการส่งมอบ คุณค่าให้กับผู้ต้องการและยอมจ่ายเงิน ดังนั้น ธุรกิจและองค์กรควรตอบคําถามในมุมมองของลูกค้าให้ ได้ว่า คุณค่าที่เราสร้างขึ้นในธุรกิจหรือการทํางานขององค์กรคืออะไร”
สําหรับการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันนั้น สวทช. มีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการทั้ง ด้านการเงิน ภาษี ถ่ายทอดเทคโนโลยี เปิดศูนย์การลงทุน เป็นที่ปรึกษาและร่วมวิจัยนวัตกรรม โดย ผู้ประกอบการจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมากมาย เช่น ได้ยกเวนภาษี 300% สําหรับงาน R&D ลงทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม โดยผูประกอบการสามารถนําคาใชจายการวิจัย และพัฒนา
เทคโนโลยี และนวัต กรรมเพื่อขอยกเวนภาษีเงินไดเปนจํานวน 3 เทา ของคาใชจายจริง แต่ไมเกิน เพดานสูงสุด ดังนี้ ยกเว้น 60% ของรายไดสวนที่มเกิน 50 ลานบาท บวกเพิ่มอีก 9% ของรายไดสวน ที่เกิน 50 ลานบาท แตไมเกิน 200 ลานบาท และบวกเพิ่ม 6% ของรายไดสวนที่เกิน 200 ลานบาท
ทั้งนี้ต้องอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี 10 กลุ่มคือ กลุ่มวิจัย พัฒนา อุตสาหกรรมใหม กลุ่มการแพทยและสาธารณสุข กลุ่มสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม กลุ่มอิเล็กทรอนิกส คอมพิวเตอร ซอฟตแวร สารสนเทศ กลุ่มท่องเที่ยว บริการ สร้างสรรค์ กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มวัสดุก้าวหน้า กลุ่มพลังงานและทดแทน กลุ่มเทคโนโลยีชีวิภาพ และกลุ่มอาหารและเกษตร
โดยผู้ประกอบการใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น เมื่อเป็นธุรกิจ Start-up จะได้รับการยกเวนภาษี เงินไดนิติบุคคลเปนเวลา 5 ป สําหรับ Tech Startup ที่จดทะเบียนในระยะเวลาที่กําหนด ใช เทคโนโลยีตามที่ สวทช. ประกาศ ในการผลิต/ใหบริการ/เพิ่มมูลคาผลิตภัณฑ ส่วนธุรกิจ Venture Capital จะได้ยกเวนภาษีเงินไดนิติบุคคลเปนเวลา 10 ปที่รวมลงทุนใน Startup ในอุตสาหกรรม เป้าหมาย รวมทั้งยกเวนภาษีเงินไดบุคคลธรรมดาเปนเวลา 10 ป สําหรับนักลงทุนในกิจการVenture Capital
พร้อมกันนี้ สวทช. ยังมีศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หรือ ITAP เพื่อชวยผูประกอบการธุรกิจ วิจัยและผลิตนวัตกรรม ทั้งให้คําปรึกษาและแกไขปญหาถึงในโรงงาน โดยจะให้การสนับสนุนในสวน ค่าใชจายในการวาจ้างผู้ชี่ยวชาญรอยละ 50 ภายใตวงเงินสูงสดุไมเกิน 400,000 บาท ซึ่งเปนกลยุทธ ขั้นต้นชวยลดความเสี่ยงการลงทุนของผูประกอบการและเชื่อมโยงสูการสรางขีดความสามารถในการ ทําวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมไทยได้เพิ่มศักยภาพในการแขงขันในตลาดโลกไดอยางยั่งยืน
ไม่เพียงเท่านั้น สวทช. ศูนยบริการวิเคราะหทดสอบด้วยครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัย ตอบโจทยทุก ความต้องการของลูกค้า และสนับสนุนการทําวิจัย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยใหกาวไปสูตลาดโลก ยกระดับสูมาตรฐานสากล โดยเฉพาะ 4 กลุ่มวิเคราะห์ทดสอบ ประกอบด้วย อาหารผสูงอายุ /อาหาร เสริมสุขภาพ ด้วยการการทดสอบการไหลของอาหารสําหรับผูสูงอายุหรือผปู้ ่วย กลุ่มเครื่องสําอางที่มี
สวนผสมจากสมุนไพรธรรมชาติ การทดสอบสารออกฤทธิ์สําคัญในสมุนไพร และการทดสอบการ ระคายเคืองตอผิวหนัง
อีกทั้งในกลุ่มยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ สวทช. มีหองปฏิบัติการวิเคราะหทดสอบระดับ ASEAN ด้านสมบัติของยาง และกลุ่มการทดสอบเภสัชวิทยาและพิษวิทยา เป็นการทดสอบความเปนพิษต่อ เซลล (Cytotoxicity) รวมถึงการทดสอบ Antibacterial
ดังนั้นโมเดลเศรษฐกิจ BCG จึงมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจ เกษตร และชุมชน อีกทั้งยัง นําไปสู่การลดความเหลื่อมล้ํา ด้วยการเพิ่มรายได้ชุมชนผ่านการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สามารถดึงเอาศักยภาพของพื้นที่ออกมาได้อย่างเต็มที่ โดย อว. รวมทั้งคณะกรรมการบริหารการ พัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ได้กําหนดแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการ พัฒนาประเทศตามแนวทาง BCG ตั้งแตปี 2564-2570
ติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิสัมมาชีพเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.facebook.com/sammachiv
https://www.facebook.com/chumchonmeedee
https://www.youtube.com/user/RightLivelihoods
ไม่มีภาพกิจกรรม
ไม่มีวิดีโอ