skip to Main Content
02-530-9204 sammachiv.pr@gmail.com
“สนธิรัตน์ “โชว์วิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจระดับเมือง-เมืองรอง

“สนธิรัตน์ “โชว์วิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจระดับเมือง-เมืองรอง

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจระดับเมือง-เมืองรอง/ท้องถิ่น”  โครงการผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่  9 มีสาระน่าสนใจดังนี้

ทุกครั้งที่มางานสัมมาชีพไม่ได้เพราะถูกเชิญ แต่ตั้งใจมาเพื่อนำประสบการณ์และความรู้มาเล่าสู่กันฟัง โดยมองว่า “ผู้นำ” ในความหมายของสังคมไทยยังมีปัญหา เพราะไปมองว่าผู้นำเป็นคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว แต่ข้อเท็จจริงคือ มีผู้นำเกิดขึ้นจากธรรมชาติเต็มไปหมด ทั้งผู้นำ SME ซึ่ง ผมก็เป็นรัฐมนตรีที่มาจาก SME

ตอนที่ผมเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีคนสงสัยว่าผมจะบริหารกระทรวงอย่างไร เพราะมาจาก SME วันนี้ผมขอให้กำลังใจ SME ตัวเล็กๆ ผมคิดว่าบางคนเก่งกว่า CEO ตัวใหญ่ เพราะต้องต่อสู้ดิ้นรนทุกอย่าง หาเงินบริหารกิจการ ต้องมองภาพรวมภาพใหญ่ให้เป็น

ขณะที่ CEO หรือข้าราชการระดับสูงบางคนอาจจะมีความลึกในความเป็นมืออาชีพของสายงานที่ตัวเองเป็นแต่ขาดการมองกว้าง มีปัญหาเรื่องงบประมาณ เพราะขาดคำว่าดิ้นรน เนื่องจากแต่ละปีจะมีงบประมาณมาตั้งอยู่ตรงหน้าทำให้มีแต่การบริหารเชิงลึกแต่ไม่มีในมุมกว้าง ที่สำคัญภูมิต้านทานจะต่ำกว่า SME ที่สู้ชีวิต ผมจึงมองว่า SME เป็นผู้นำ เป็นพลังคนตัวเล็กๆ ที่น่ากลัวมาก เป็นคนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ขอย้ำว่า พลัง SME สำคัญ  เขาเป็นคนธรรมดาที่จะสร้างความได้เปรียบให้สังคมไทย  ส่วนคนในระบบราชการ จะเป็นผู้คลุกอยู่กับนโยบายและกฎระเบียบ ฉะนั้นเราจึงมีความหวังอยู่ที่พวกท่าน

เราต้องการสร้างให้ท่านเติบโต   สำหรับหลักสูตรนี้  เป็นหลักสูตรที่รวมคนทุกระดับองค์กร  ซึ่งสังคมไทยแยกส่วน  การแยกส่วนเป็นจุดล้มเหลวเพราะความสำเร็จจะเกิดขึ้นเมื่อมีการบูรณาการ  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องปรับ Mind set  ต้องเชื่อมงาน  สิ่งแรกในการเลือกผู้บริหาร คือ การทำงานกับคนอื่นได้   บางคนเก่งคนเดียว  การละลายทุกภาคส่วน เป็นความสำเร็จ

การสร้างเศรษฐกิจฐานรากเป็นนโยบายของรัฐบาล เมื่อก่อนกระทรวงพาณิชย์เป็นกระทรวงไฮโซ แต่พอผมเข้ามาดูแลได้กลายเป็นกระทรวงโลโซไปแล้ว ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมี เพราะผมต้องการดูแลลงไปถึงเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ผมถึงได้ลงพื้นที่พร้อมท่านนายกฯ อยู่ตลอด เพราะผมรู้และเข้าใจเรื่อง SME เป็นอย่างดี ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายที่จะทำให้เศรษฐกิจฐานรากมีความมั่นคงไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนจีนเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอย่างมาก

“เมื่อวานนี้ (24 ส.ค. 61) เป็นวันที่ยิ่งใหญ่วันหนึ่งของประเทศไทย เป็นเพราะจีนยกทัพนักธุรกิจเดินทางมาประเทศไทย 600 คน ซึ่งในนี้มี 32 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ติด Top 500 บริษัทโลกด้วย วันนี้จีนคือมหาอำนาจของโลก และจีนในวันนี้ไม่เหมือนเดิมในอดีตทางการเมืองและเศรษฐกิจ เมื่อวานจึงเป็นวันประวัติศาสตร์ของไทย ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

สำหรับการสร้างเศรษฐกิจฐานราก เราต้องบูรณาการ อันที่จริงบริษัทประชารัฐรักสามัคคี ก็เกิดขึ้นจากการสรุปบทเรียนการทำงานของมูลนิธิสัมมาชีพ  โดย ดร. สมคิด  จาตุศรีพิทักษ์ ก่อนเข้าร่วมงานกับรัฐบาล ในการทำงานเราเน้นการประสานความร่วมมือ NGO ราชการ ชุมชน  เมื่อท่านเข้าร่วมงานกับรัฐบาลท่านก็นำบทเรียนการทำงานมาขยายผลในงานประชารัฐฯ บทเรียนหนึ่งจากคนทำงานพัฒนาสังคมมา 30-40  ปี ให้ประชาชนตั้งกลุ่มชุมชนขึ้นมา แต่กลุ่มไปได้ไม่นานก็ต้องล้มลง ไม่สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนเพราะขาดการดำเนินการทางเศรษฐกิจ  เช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรทำได้ดี แต่เกษตรกรก็อยู่ไม่ได้เพราะขาดการตลาด เป็นต้น

การพัฒนาเศรษฐกิจระดับเมืองรองและท้องถิ่น การพัฒนาที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะขาด Area Base การใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการพัฒนา วันนี้อยากพูดคือ ต้องจับจุดแข็งในพื้นที่เป็นตัวตั้ง หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านมีจุดแข็งไม่เหมือนกัน อะไรคือ จุดแตกต่าง  Area Base คือหัวใจสู่การพัฒนา

ถ้าพูดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ เราต้องมองถึงจุดแข็งของพื้นที่อย่างคำว่า เมืองหลัก เมืองรอง ยกตัวอย่างเชียงใหม่ ถ้าเชียงใหม่ที่เป็นเมืองหลักดีเมืองบริวารของเชียงใหม่อย่างลำพูน ลำปาง ก็จะดีตามไปด้วย ยังเชื่อมโยงไปถึงแพร่ เราต้องทำให้เกิดการพัฒนาแบบเกาะเกี่ยว

ในเรื่องพื้นที่มหาดไทยเขามีการแบ่งกลุ่มจังหวัด  แต่พวกเราในฐานะผู้นำต้องคิดในเชิงลึก และพัฒนาแบบเกาะเกี่ยว  Inclusive Growth  หรือ Complement   พัฒนาไปเป็นพวง  คือคนที่ตั้งตัวทำธุรกิจ  แล้วต้องทำตั้งแต่ต้น เช่น การผลิตเสื้อผ้าไหม  แล้วต้องทำตั้งแต่  ทอผ้า  ตัดเย็บ  จนนำออกตลาดไปขาย  ถ้าทั้งประเทศทำอย่างนี้จะไปไม่รอดเพราะขาด Complement

แนวทางที่เหมาะสมคือ แบ่งงานกันทำ ใครเก่งอะไรทำเรื่องเดียว  คนเลี้ยงไหมคนหนึ่ง  คนทอย้อมสีอีกคนหนึ่ง  ออกแบบตัดเย็บอีกคนหนึ่ง  ก็คือเราใช้ผู้เชี่ยวชาญ  3  ด้านในการทำงาน  และเมื่อขายก็ต้องเอามืออาชีพมาขาย  เช่น  ตอนนี้เราจะเอาผ้าไหมไปฝรั่งเศส  เรายกเอาไหมของเราไปสู่การออกแบบของประเทศอันดับหนึ่งของโลก เราควรหาจุดเด่นของพื้นที่  แล้วต้องมองต่อไปว่าเราจะ Complement กับใคร  เพราะแต่ละคนมีองค์ประกอบที่ต่างกัน  เช่น  ภูมิปัญญา  ภูมิประเทศ  อากาศ ฯลฯ ส่วนหมู่บ้านที่ไม่มีจุดเด่น ก็เป็น  Local  Supply

ในเรื่องการท่องเที่ยวก็เป็นวิธีคิดเดียวกัน ปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวมาประเทศไทย 30 ล้านคน  จนเราติดอันดับ TOP ของโลก   ปีนี้คาดว่าจะทะลุถึง  40  ล้านคน  ปีต่อๆ ไปจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น คนทั้งโลกต้องการท่องเที่ยว เมืองหลักเราเต็ม เราต้องผ่องถ่ายไปเมืองรอง เอาการท่องเที่ยวเป็นตัวนำการพัฒนา  การท่องเที่ยวเป็นหัวจรวดที่นำสิ่งต่างๆเข้ามาทั้ง การคมนาคมขนส่ง ร้านอาหารท้องถิ่น การซื้อข้าวของ ร้านของฝาก  ที่พัก  สปา  นวดแผนไทย  การเพาะปลูก  เกิดคุณค่ามากมายในพื้นที่

ตอนนี้รัฐบาลก็กำลังทำ  4,000  กว่ากิโลเมตร เชื่อมการเดินทางทั้งประเทศ ทลายกำแพงการพัฒนา กรุงเทพฯ จะเป็น Mega city ที่มีการเดินรถไฟเท่าลอนดอน และจาก Infrastructure นี้เราต้องดูว่าเราจะสร้าง Value Base Society ขึ้นมาได้อย่างไร เราต้องดูว่าเรามีคุณค่าที่แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร เราต้องสร้างให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมา  ซึ่งนวัตกรรมนั้นไม่ใช่แค่เรื่องวิทยาศาสตร์ สร้างให้เป็น Innovation Economy Based  Economy และอีกประการที่เราต้องพัฒนาขึ้นมาคือ การพัฒนาดิจิทัล มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ

ทุกคนในห้องนี้เราต้องติดอาวุธทางปัญญา เราต้องภูมิใจว่าเราได้ทำงานเพื่อสังคมที่มีคุณค่า ถ้าปราศจากการให้การเผื่อแผ่ ชีวิตก็ไม่มีความหมาย เรามีโจทย์ยากในการพัฒนาองค์กรที่เราต้องก้าวข้ามคือ

  1. การคิดเรื่อง “ตัวเรา” เราต้องใจกว้าง เอาคนมาทำงานร่วมกันให้มาก ทำให้เกิดผล อย่าติดยึดความคิดเรื่องการขโมยซีน
  2. เราจะพัฒนาอย่างไรให้เกิดความสมดุล การพัฒนาไปสู่ความเท่าเทียมไม่มี แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องคิดว่าเราจะบริหาร Supply Chain อย่างไรให้เฉลี่ยความมั่งคั่งให้แก่กัน สร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ขึ้นมา
Back To Top