skip to Main Content
02-530-9204 sammachiv.pr@gmail.com
อุตสาหกรรม 4.0 ก้าวทัน ก้าวไกล ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

อุตสาหกรรม 4.0 ก้าวทัน ก้าวไกล ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้เกียรติบรรยายหัวข้อ “อุตสาหกรรม 4.0 ก้าวทัน ก้าวไกล ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ในโครงการอบรมหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 9 จัดโดยมูลนิธิสัมมาชีพ มีสาระน่าสนใจดังนี้

วันนี้ผมจะพูดถึงประเทศไทยจะปรับเปลี่ยนอย่างไร โดยสรุปแล้วกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการใน  2  เรื่องหลักๆ คือ 1) การพัฒนาคน 2) การพัฒนาพื้นที่สู่อุตสาหกรรมใหม่ แต่เราต้องเข้าใจตรงกันประการหนึ่งว่า เมื่อพูดถึงกระทรวงอุตสาหกรรม อย่าเข้าใจว่างานของเราเกี่ยวเนื่องเฉพาะโรงงาน แต่งานของเรารวมถึงการทำงานกับภาคเกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ต้องส่งเสริมพร้อมกันไป  โดยเรื่องที่ประเทศไทยทุกวันนี้ เห็นตรงกันว่าเราต้องปรับตัว  แต่ปัญหาคือ เราจะต้องปรับตัวอย่างไร  สำหรับรัฐบาลเองยิ่งต้องคิดมากขึ้นว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศมั่นคง มีการเติบโตอย่างยั่งยืน  อาจพูดได้ว่าต้องมีปัจจัยต่างๆ มาประกอบ “ความพร้อมมี  โอกาสมา  ความสงบมี  เศรษฐกิจชัดเจนฟื้น  แต่ต้องเร่งการกระจายตัว”

ปัจจัยเกื้อหนุน 

สำหรับปัจจัยเกื้อหนุน มีดังนี้

  1. ความเด่นของภูมิภาค ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า การค้าในทุกระดับของเราเกี่ยวเนื่องกับการค้าในระดับโลก  และเอเชียเป็นที่สนใจ  รวมทั้งประเทศไทยเราก็เป็นที่สนใจของการค้าโลก ซึ่งต่างจากช่วงสิบปีที่ผ่านมา เรามีข้อดีในแง่ที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางและธุรกิจมีการยึดโยงกัน โดยเฉพาะอาเซียน เป็นตลาดใหม่
  2. เทคโนโลยีเกื้อหนุน เทคโนโลยีดิจิตอล จะทำให้คนตัวเล็กที่มีฝีมือสามารถเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น ทำให้โอกาสมาถึง แต่เราก็ต้องทำตัวให้พร้อม

รัฐบาลคุยกันมา 3 ปี ถึงการเปลี่ยนประเทศ นี่แหละเป็นที่มาของการปฏิรูปประเทศซึ่งต้องทำอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง เราต้องไปพร้อมๆกัน จึงนำไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ 20 ปี

ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี วางเป้าหมาย 3  ด้าน คือ

  1. สร้างฐานความเจริญใหม่ ให้มีองค์ประกอบใหม่ และกระจายความเจริญไม่ให้กระจุกตัว
  2. เพิ่มขีดความสามารถ เราต้องเพิ่มความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ รายใหญ่ต้องเอื้อรายเล็ก SME ต้องโต ต้องเพิ่มความสามารถของสตาร์ทอัพ ปัจจุบันการลงทุนใหม่มีเพียง              1 ใน 4 ส่วนเท่านั้น
  3. กระจายความเจริญเติบโตอย่างทั่วถึงและครอบคลุม โครงสร้างพื้นฐานต้องกระจายตัวเพื่อให้ท้องถิ่นเข้าถึงการแข่งขัน โครงสร้างที่จำเป็นสำหรับระบบดิจิตอลต้องสามารถเข้าถึงได้

การดำเนินการขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ในยุค 4.0

เราต้องดำเนินงานมีอยู่ หลายเรื่องด้วยกัน คือ

  1. ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทั่วไทย โครงสร้างพื้นฐานต้องกระจายตัวเพื่อให้ท้องถิ่นเข้าถึงการแข่งขัน โครงสร้างสำหรับระบบดิจิตอลต้องสามารถเข้าถึงได้ทั้ง Hard ware และในส่วน content ระบบการติดต่อการคมนาคม ตอนนี้ทางรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณในเรื่องนี้ 24,000 ล้านบาท ระบบสาธารณูปโภค ที่จำเป็น โดยค่าใช้จ่ายต้องเป็นเรื่องที่ประชาชนรับได้ ระบบรถไฟ เพื่อการเดินทาง และการขนของต้องสะดวก
  2. พัฒนาชุมชนและพื้นทีเพื่อสร้างความเข้มแข็งภายใน เราต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ต้องเข้มแข็งจากพื้นที่ ในเชิงพื้นที่ เรามีพื้นที่พิเศษคือ EEC เรามีเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 แห่ง และมีเครือข่ายประชารัฐอย่างกว้างขวาง ไม่รออุตสาหกรรมใหม่อย่างเดียว การพัฒนาเน้นพื้นที่ ในขณะนี้กระทรวงทำงานกับหมู่บ้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวหลายแห่ง  การเข้าถึงการดำเนินการนี้ หมู่บ้านต้องมีการพัฒนามาก่อน แล้วต้องสมัครเข้ามาสู่กระบวนการพัฒนาต่างๆ โดยเราจะจับคู่กับบริษัทที่ต้องการเข้ามาร่วมการพัฒนา เอาจุดแข็งมาช่วยกัน ตอนนี้มีมา 200 กว่าแห่งแล้ว
  3. ส่งเสริม SME และ Startup เข้าถึงทุกพื้นที่ เรามีรูปแบบที่เหมาะกับ SME รายใหญ่ต้องเอื้อรายเล็ก SME ต้องโต ต้องเพิ่มความสามารถของสตาร์ทอัพ เหมือนกับเกาหลี ที่ให้ความสำคัญสตาร์ทอัพมาก เพราะถ้า SME ไม่เกิด อุตสาหกรรมรายใหญ่ก็ไม่เติบโต
  4. พัฒนา EEC ดึงดูดการลงทุนขนานใหญ่ เราต้องมี EEC เป็นตัวกระตุ้น ต้องสร้างสมดุลใหม่ เราต้องผลิตรถยนต์ใหม่ จะเป็นรถใช้ไฟฟ้า สิ่งที่เกิดขึ้นใน EEC ต้องเกิดในที่อื่นๆ ของประเทศด้วย EEC ไม่ใช่เฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่รวมถึงการพัฒนาการเกษตรและการท่องเที่ยวด้วย ตอนนี้มีบริษัทจีนเสนอตัวเข้ามา 300-400 บริษัทแล้ว เราต้องคิดว่าจะร่วมมือกับเขาอย่างไร
  5. พัฒนา “คน” ให้รู้ลึก รู้กว้าง ใช้ทักษะทำงานเพราะเมื่อมีเทคโนโลยีดิจิตอล เราต้องสร้างคนให้มีทักษะใหม่นี้ รัฐจะช่วยให้คนไทยเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ องค์กรการศึกษาต้องเข้ามามากขึ้น เราต้องปฎิรูปตนเอง ต้องทำความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันเรามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิศวกรและบุคลากรทางเทคนิค ในรูปแบบ KOSEN เพื่อรองรับการขยายการลงทุนของเอกชน เครือข่ายการพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาและนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เรามี “สัตหีบโมเดล” ที่ดึงอาชีวะมาพัฒนา EEC
  6. สร้างนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม เราไม่ได้เป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ และอีกประการที่เราจะดำเนินการในเรื่องนี้ เราต้องรู้ว่าเมื่อพูดถึงเทคโนโลยี ต้องไม่เข้าใจว่ามันต้องหรูเริ่ด แต่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่ใช่แค่รับจ้างผลิต แต่ต้องพัฒนาการผลิตขึ้นมา เช่น การผลิตแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ญี่ปุ่นอยากมาประเทศไทยมาก เพราะประเทศเขามีความคิดสร้างสรรค์น้อยลง เขาอยากหามหาวิทยาลัยแบบยืดหยุ่น ไม่เน้นปริญญา ญี่ปุ่นเน้นการศึกษาเรื่อง  Internet of Things (IoT)
  7. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างความได้เปรียบ สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ปัจจุบันการลงทุนใหม่มีเพียง 1 ใน 4 ส่วน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนแค่ซ่อมแซม อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ให้ SME สร้างส่วนสำคัญของยานยนต์สมัยใหม่ ให้ มี Center of motor excellence
  8. ส่งเสริมเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา เราต้องสร้างการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่เราต้องการพัฒนา คือ อุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น อ้อย ไม่ใช่คิดแค่ผลิตน้ำตาล แต่ควรนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ การแปรรูปอาหารเฉพาะทาง โดยรัฐบาลต้องแก้กฎหมายต่างๆ ที่ยังขัดขวางอยู่ สร้างเครือข่ายงานวิจัย
  9. เชื่อมโยงเสริมความแกร่งในเวทีโลก เราทำความร่วมมือกับหลายประเทศ ความร่วมมือกับต่างประเทศที่จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และยกระดับอุตสาหกรรมไทย 0 ความร่วมมือที่สำคัญคือ การสร้าง Partnership ระหว่าง ไทย – เยอรมัน – ญี่ปุ่น รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคทั้ง Cambodia, Laos, Myanmar และ Vietnam            (CLMV)

ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย

อาจกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นซึ่งจะเห็นได้จากตัวชี้วัดที่องค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ  เช่น U.S. News, JETRO,  JCC, สภาอุตสาหกรรมไทย, หอการค้าไทย และธนาคารโลก ได้จัดทำขึ้นต่างให้การยอมรับดังนี้

  • ไทยติดอันดับที่ 8 จาก 20 ประเทศ ที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุน
  • ไทยครองแชมป์อันดับ 1 ประเทศที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มธุรกิจ (ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจญี่ปุ่นในไทยปรับตัวขึ้นสูงระดับ 40 สูงสุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูง7 สูงสุดในรอบ 42 เดือน (ณ มิ.ย. 61)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 1 สูงสุดในรอบ 62 เดือน
  • ศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของไทยขยับเป็นอันดับสูงขึ้น 13 อันดับ เป็นอันดับที่ 32 จาก 160 ประเทศ (อันดับ 2 ของอาเซียน)

ถึงแม้เศรษฐกิจได้ปรับตัวดีขึ้นแล้ว แต่ผลดีก็ยังไม่ปรากฏเท่าใดนักก็เนื่องจากปัญหาในการติดกับดัก 3 ประการ คือ  กับดักรายได้ปานกลาง  กับดักความเหลื่อมล้ำ  กับดักความเสื่อมโทรมทรัพยากร  นั่นเอง

สำหรับ EEC นั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ EEC ที่ทำอยู่เป็นแค่ตัวกระตุ้นและจะเกิด EEC ทั่วประเทศ แต่ต้องสอดรับกับจุดเด่นในพื้นที่  เช่น EEC ภาคใต้ก็จะมีเรื่องของประมง  EEC ไม่ใช่สร้างอุตสาหกรรม แต่จะเป็นการสร้างเมือง สร้างคน แต่ที่ขาดไม่ได้ต้องสร้างอุตสาหกรรมเพราะต้องใช้เงิน อุตสาหกรรมมีทั้งเกษตร ท่องเที่ยวบริการ เป็นฐานความเจริญใหม่

Back To Top