skip to Main Content
02-530-9204 sammachiv.pr@gmail.com
รวมเนื้อหา-วิทยากร LFC 11 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนสู่ตลาดโลก
Communication chat icon above cityscape in the night light of the city.

รวมเนื้อหา-วิทยากร LFC 11 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนสู่ตลาดโลก

 

รวมเนื้อหา-วิทยากร LFC 11 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนสู่ตลาดโลก

    โครงการอบรม Leadership for Change หรือ “ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง” รุ่นที่ 11 ซึ่งมูลนิธิสัมมาชีพ เป็นแม่งานจัดขึ้นที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม-29 พฤศจิกายน 2563 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 11 วัน

 

    โดยการอบรมจะอยู่กรอบหลักคือ “Food & Health ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนสู่ตลาดโลก” แบ่งเป็นอบรมแนวคิด-ความรู้ 6 วัน ลงพื้นที่ทำกิจกรรมกลุ่ม 3 วัน และสรุปกิจกรรมเชื่อมโยงความเป็นไปได้ 2 วัน

 

     การอบรมภาคความรู้ เริ่มเสาร์แรกวันที่ 31 ตุลาคม 2563 มีวิทยากรให้ความรู้ 3 คน เปิดฉากด้วย นายวิเชฐ ตันติวานิช ประธานคณะกรรมการสถาบันผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง ในหัวข้อ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal เน้นเนื้อหาผู้นำในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรง ความเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 ที่มีผลต่อเศรษฐกิจชุมชน อีกทั้งการปรับตัวสำหรับผู้นำชุมชน

 

     นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ วิทยากรหัวข้อ อนาคตกัญชาไทยและสมุนไพรในตลาดโลก พูดถึงอนาคตกัญชาไทยและสมุนไพรในอนาคต และแนวทางไปสู่ตลาดโลกของไทย

 

     ปิดท้ายวันแรกด้วยวิทยากร นายสมพล ชัยสิริโรจน์ Voice Dialogue Facilitator กรรมการบริษัท ไอ.ซี.ซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ กิจกรรมสัมพันธ์ ได้ทั้งความรู้ควบคู่ความสนุกผ่อนคลายใน “กิจกรรมสุนทรียสนทนา เพื่อความเข้าใจตนเองและเข้าใจเพื่อนร่วมสังคม”

 

    วันถัดมา อาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2563 มีวิทยากรระดับสำคัญร่วมตัวให้ความรู้ถึง 4 คน ประกอบด้วย ดร.อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความรู้หัวข้อ นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระดับชาติ

 

    นายมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หัวข้อ “สินค้าอาหาร” ทางรอด-ทางรุ่งเศรษฐกิจไทย เน้นความสำคัญของอุตสาหกรรมอาหาร แนวโน้มอนาคต ผลสำรวจผู้บริโภคต่อสินค้าอาหารที่ผลิตโดย SME และแนวทางการส่งเสริม SME

 

    นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ชี้เน้นทางความยั่งยืนเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรม

 

    รวมทั้ง นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เป็นวิทยากรในหัวข้อ บทบาทของประชาชนในการร่วมสร้างแผนยุทธศาสตร์ชาติ

 

   นายเอ็นนู พูดเนื้อหาครอบคลุมทั้งความสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ชาติ การแปลงยุทธศาสตร์เป็นแผนพัฒนาประเทศ บทบาทของประชาชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ และทิศทางในการพัฒนาประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า

 

   จากนั้นหยุดพักมาเริ่มกันใหม่ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 วิทยากรคนแรกคือ ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พูดถึงการขับเคลื่อน SME ด้วยกลไกภาครัฐ บทบาทของ สสว.ในการพัฒนา SME ปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน และแผนการพัฒนา SME และเศรษฐกิจฐานรากในอนาคต

 

   วิทยากรคนต่อมาคือ นายวุฒิพงศ์ ชาครัตพงศ์ ผู้จัดการศาสนา ออร์แกนิค วิลเลจ วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา พูดในเนื้อหาสร้างเศรษฐกิจชุมชนต้องสร้างกระบวนการแห่งความสำเร็จ โดยเน้นที่กระบวนการทำงานกับชุมชน และถ่ายทอดบทเรียนการทำงานของมูลนิธิกับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

 

   วิทยากรอีกคน คือนายรักพงษ์ เซ่งเจริญ ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พูดถึงกองทุนหมู่บ้านยกระดับผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการตลาด พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยผู้เข้าอบรมจะได้รับรู้ถึงกระบวนการทำงานของกองทุนหมู่บ้าน และบทบาทกสนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

 

   นอกจากนี้ ในหัวข้อสินค้าแบรนดืไทยไปตลาดโลก ผู้เข้าอบรมจะได้รับรู้แนวทางจากวิทยากรผู้มีประสบการณ์โดยตรง 2 คนมาบอกกล่าวคือ นายณัฐดนัย รุจิรา จากกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมหวานเพชรบุรี (Moddii) และนายชัยวัฒน์ ศรีเทศ จาก บริษัทไนน์ แทมมะรินด์

 

    อีกทั้ง นางปรารถนา หาญเมธี ฝ่ายบริหารโครงการสถาบันอาร์แอลจี รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป จะพูดในหัวข้อ Mindset สำหรับนักขับเคลื่อนชุมชน อีกทั้ง ดร.นัชชา เทียมพิทักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยาเขตอีอีซี ชลบุรี พูดในหัวข้อ แผนธุรกิจที่เหมาะสมกับ SME และวิสาหกิจชุมชน

 

   ส่วนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 เริ่มด้วยวิทยากร ผศ.ดรงสุภาวดี ขุนทองจันทร์ อ.วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารโลกกับโอกาสของชุมชนไทย

 

   ถัดจากนั้น น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พูดในหัวข้อ ท่องเที่ยวชุมชนปลอดภัยในความปรกติใหม่ โดยเน้นแผนการปรับการท่องเที่ยวของไทยในภาวะวิกฤติ COVID 19 และมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA)

 

    สำหรับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดการอบรมด้วยหัวข้อ ถอดรหัสลับความสำเร็จสินค้าท้องถิ่นแบรนด์โลก-แบรนด์ไทย  โดยเน้นถึงรหัสความสำเร็จสินค้าท้องถิ่นที่ก้าวสู่แบรนด์โลก เปิดงานวิจัย Customer Journey และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าท้องถิ่นและสินค้าไทย รวมทั้งอนาคตของสินค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ท้องถิ่น

 

    นอกจากนี้ วันนี้ยังมีวิทยากร ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ (DEPA) พูดในหัวข้อ การประยุกต์สื่อออนไลน์สำหรับการพัฒนาสินค้าและบริการจากชุมชน  ตลอดจนนายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ มาเป็นวิทยากร หัวข้อ แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นในระดับจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชัยภูมิ

 

   วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 วันสุดท้ายของภาคการอบรมความรู้แนวทาง ซึ่งวิทยากรวันนี้ประกอบด้วย ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในหัวข้อ โอกาสอาหารไทยสู่ครัวโลกยุคโควิด-19 เน้นถึงผู้นำในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรง ความเปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19 ที่มีผลต่อชุมชนการปรับตัวสำหรับผู้นำชุมชน และโอกาสของอาหารไทยในภาวะโควิด-19

 

    อีกทั้ง ยังมีวิทยากร นางปรารถนา หาญเมธี ฝ่ายบริหารโครงการสถาบันอาร์แอลจี รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป พูดในหัวข้อ Workshop ถอดบทเรียนความสำเร็จของชุมชนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

 

   และปิดท้ายภาคการอบรมด้วยวิทยากร ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มานำเสนอถึงบทบาทสื่อในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยมุ่งเน้นถึงสื่อไทยในยุค Disruption บทบาทของสื่อมสวลชนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก แนวทางให้วิสาหกิจชุมชนเข้าถึงสื่อและพื้นที่ข่าวมากขึ้น และสื่อหลักและสื่อออนไลน์กับการขยายตลาดสินค้าชุมชน

 

    ดังนั้น ตลอดการอบรม 6 วันดังกล่าว (เฉพาะเสาร์-อาทิตย์) ผู้เข้าอบรมจะได้ความรู้ แนวทางจากวิทยากรถึง 24 คน เพื่อให้ภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนสู่ตลาดโลกได้อย่างมีแนวทางและสามารถประยุกต์นำไปปฏิบัติ ผลักดันให้เศรษฐกิจชุมชนฐานรากก้าวสู่ตลาดโลกได้อย่างมีทิศทางและเป้าหมายเชิงมูลค่ายิ่งขึ้น

     รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://www.right-livelihoods.org/chanchage-leadership/%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b3-%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%87-%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-11/

Back To Top