skip to Main Content
02-530-9204 sammachiv.pr@gmail.com
“โอกาสของผู้มาใหม่มีเสมอ ถ้าคิดให้เป็นทำให้ถูก”

“โอกาสของผู้มาใหม่มีเสมอ ถ้าคิดให้เป็นทำให้ถูก”

“โอกาสของผู้มาใหม่มีเสมอ ถ้าคิดให้เป็นทำให้ถูก”

       อนุสนธิกรณี “คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์” อดีตซีอีโอ.บริษัทปตท.ได้มาบรรยายในการอบรมหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 ในหัวข้อ “โอกาสของผู้มาใหม่/Startup Technology Innovation” ซึ่งมีสาระน่าสนใจดังนี้

      ไม่ว่าจะเป็นประเทศ หน่วยงาน บริษัท หรือ ตัวเราเองต้องปรับตัว ธุรกิจบางประเภทเข้าสู่ยุควิกฤติ เช่น ตัวอย่างการปิดตัวของ ทอยส์ อาร์ อัส บริษัทของเด็กเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากการค้าขายเปลี่ยนจากขายปลีกทั่วไปที่มีร้านค้า เปลี่ยนเป็นขายผ่านออนไลน์

      ธุรกิจบางประเภทเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้าน ธนาคาร สื่อมวลชนและการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แต่ธุรกิจสามารถเติบโตได้แต่โอกาสเปลี่ยนไป โอกาสของผู้มาใหม่มีเสมอถ้าคิดให้เป็น ทำให้ถูก ตัวอย่างสตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จเช่น แกร็บ อูเบอร์ แอร์บีเอ็นบี อาลีบาบา เฟซบุ๊ค เน็ตฟริกซ์ ฟูดแพนด้า และลาซาดา ซึ่งเป็นการสร้างแพล็ตฟอร์ม การให้บริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า

      อย่างไรก็ตาม สตาร์ทอัพมีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ปัญหาเกิดจากการสร้างธุรกิจที่ไม่ใช่ความต้องการของตลาด ความเชี่ยวชาญในตัวธุรกิจและความรู้ไม่เพียงพอ รวมถึงความรับผิดชอบและการสร้างกติกาในการบริหารงาน

      ตัวอย่าง สตาร์ทอัพในไทยที่ประสบความสำเร็จเช่น วงใน และอุคบี. ซึ่ง สตาร์ทอัพ ในไทยยังเกิดขึ้นน้อยเนื่องด้วยแนวทางปฏิบัติหรือกฎหมายบางประการให้สามารถดำเนินการได้ เช่น การขออนุญาต อ.ย. ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เป็นต้น

     ปัจจุบันกระแสโลกเปลี่ยน ผู้บริโภคเปลี่ยน ปัจจุบันเกิดเทรนด์ธุรกิจแบบใหม่และหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของ อี-คอมเมิร์ช เทรนด์อาหารสุขภาพเช่น นวัตกรรมเครื่องดื่มสุขภาพของดอยคำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เช่น ข้าวต้มมัดแม่นภาโดยใช้เทคโนโลยีเก็บรักษาได้นานขึ้น หรือลุฟฟาลา ผลิตภัณฑ์การดูแลผิวพรรณ การเกิดเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

    การเปลี่ยนของสังคม เป็นสังคมของคนรุ่นใหม่ และสังคมดิจิตอล เกิดลักษณะของซี-เจนเนอร์เรชั่น ซึ่งมีการใช้อินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อตลอดเวลา การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย และออนไลน์ ในด้านของเมืองทุกวันนี้เมืองมีการขยายเป็น สมาร์ท ซิตี้ มากขึ้น

     ส่วนพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นไปตามช่วงอายุ ดังนั้นประสบการณ์และความต้องการไม่เท่ากัน เทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของคนหลากหลายด้วยการวิเคราะห์จาก บิ๊กดาต้า และการใช้เครื่องมือการตลาดใหม่ๆที่เข้ามา การเข้าถึงผู้ผลิตได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างของการการปรับตัวเช่น เซเว่นอีเลฟเว่น ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

     ในปี 2020-2030 คนจะย้ายถิ่นฐานเพราะการเกิดภัยพิบัติ การใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การใช้หุ่นยนต์ในการทำงาน มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น เครื่องมือทางการแพทย์สมัยใหม่ การใช้ AI และระบบ real time monitoring รวมถึงการเกิดขึ้นของ สมาร์ท วอท์ช จับพฤติกรรมการนอน อัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยให้ระมัดระวังและดูแลสุขภาพมากขึ้น การใช้พลังงานชุนชนเพื่อการเกษตรสมัยใหม่ การใช้พลังงานจากพืช วัสดุในท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ ซึ่งผลักดันโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและกระทรวงพลังงาน

    ดังนั้นการพัฒนาธุรกิจจากขนาดเล็กไปกลาง จากกลางไปใหญ่ ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาได้มากขึ้น เป็นโจทย์ที่รัฐ เอกชน และประชาสังคมต้องร่วมมือกัน ตัวอย่างการปรับตัวและการวางกลยุทธ ของปตท. จากบริษัทน้ำมันขนาดเล็ก ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตอกย้ำการสร้างความเชื่อมั่นว่าเป็นบริษัทของคนไทยในราคาที่เหมาะสม ไม่แพง การปรับรูปลักษณ์และการบริการจนกระทั่งปตท.ได้เป็นที่หนึ่งของประเทศในปี 2536 และมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด

       ปัจจุบัน ปตท.มีนโยบายเรื่องการใช้พลังงานทางเลือก รวมถึงการใช้หลัก 3 D คือ Do now / Desize down / Dsign now ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ โครงการต่อเนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยร่วมกับองค์การเภสัชกรรมในการผลิตยาต้านมะเร็งที่ถูกลง การจัดตั้งโครงการช่วยเหลือสตาร์ทอัพ โดยทีมสร้างธุรกิจใหม่ espresso การเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจปั๊มน้ำมันในลักษณะคอมมูนิตี้ มอลล์ การขยายธุรกิจเอสเอ็มอี. จนขยายไปได้ถึงในต่างประเทศเช่น ร้าน กาแฟอะเมซอน ในญี่ปุ่นเป็นต้น

Back To Top