อนาคตวิถีใหม่: สู่สังคมดิจิทัลเปลี่ยนรูปแบบสินค้า
อนาคตวิถีใหม่: สู่สังคมดิจิทัลเปลี่ยนรูปแบบสินค้า
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) บรรยายในการอบรมผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 11 เมื่อวัที่ 14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ โดยกล่าวถึง การประยุกต์สื่อออนไลน์สำหรับการพัฒนาสินค้าและบริการจากชุมชน
ดร.ณัฐพล กล่าวว่า โลกในอนาคตแบบวิถีใหม่จะเกิดการเปลี่ยนใน 3 ด้าน คือ เปลี่ยนจาก Physical เป็น Non-Physical คือ การค้าขายไม่ได้อยู่ตามหน้าร้านแบบโลกเดิมๆ ดังนั้น การแบกภาระต้นทุนจะปรับเปลี่ยนใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นการขายอยู่บ้านผ่านเครื่องมือสื่อสารยุคใหม่ ทั้งไลน์ ทั้งแอปพลิเคชั่น เป็นต้น
นอกจากนี้ การทำธุรกิจยังเปลี่ยนจาก Non-Platform ไปเป็น Platform คือจากการทำงานแบบคนเดียวไปสู่การทำธุรกิจที่รู้จักคิด วางแผน โดยมีเป้าหมายให้ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายต่ำลง แล้วเกิดรายได้ที่สูงขึ้น และเกิดได้เปรียบทางการแข่งขัน
สุดท้ายเปลี่ยนจากอุตสาหกรรม Indigenous ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมดั่งเดิมจากการขายของอย่างเดียว รอคนมาซื้อ เปลี่ยนไปเป็นอุตสาหกรรม Value Added มุ่งสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มบน Platform และ Non-Physical ดังนั้น 3 ด้านการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงเป็นการปรับเปลี่ยนที่ใกล้เคียงกับคนไทย โดยไม่รู้ตัว
ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้น ถ้าพิจารณาจากโครงสร้างปิรามิดเศรษฐกิจไทยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ฐานรากจะเป็นเกษตรกร ตรงกลางเป็นเอสเอ็มอีขนาดเล็ก-กลาง และสูงสุดคือบริษัทขนาดใหญ่
ในฐานกลุ่มเกษตรกร มีฐานเศรษฐกิจแบบชุมชนจำนวนมากประมาณ 7 ล้านครัวเรือนมีประชากรประมาณ 12 ล้านคนทำงาน ส่วนเอสเอ็มอีมีประมาณ 3 ล้านกิจการ โดย 5 แสนกิจการเป็นบริษัทจำกัด เป็นผู้ประกอบที่มีงบการเงิน อีก 2 ล้านกว่ากิจการคือ หาบเร่ แผงลอย ซึ่งไม่ได้จดนิติบุคคล
เมื่อปิรามิดเศรษฐกิจไทยปรากฎขึ้นเช่นนี้ การแปลงรูปแบบกิจการจาก Physical เป็น Non-Physical จึงเป็นปัญหาความเข้าใจกับกลุ่มกิจการเกษตรกรฐานราก แต่ส่วนบนสูงสุดมีความเข้าใจแล้วเกิดการปรับเปลี่ยนใหม่ได้ทันโลกอนาคต
ดังนั้น โครงสร้างส่วนบนสูงสุดที่เป็นบริษัทใหญ่จึงปรับตัวไปสู่ Platform และ Non-Physical ซึ่งแตกต่างจากกิจการโอทอป หรือชุมชนไม่สามารถเข้าสู่กิจการที่เปลี่ยนแปลงใหม่นี้ได้ อีกอย่างอย่าได้คิดทำ เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงคนไม่ใช้ แต่ชุมชนควรนำเอา Platform ที่คนอื่นทำแล้วมาใช้ประโยชน์ในกิจการจะเกิดประโยชน์คุ้มค่ามากกว่า
อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มเกษตรกรหรือฐานล่างของโครงสร้างปิรามิดเศรษฐกิจจะเริ่มทำกิจการค้าแบบ Non-Physical นั้น ควรเริ่มจากสตาร์ทอัพ (Startup) ผู้ให้บริการโมเดลธุรกิจแบบใหม่ อีกทั้งบริการจัดซื้อ เขียนโปรแกรม เพื่อให้ผู้ประกอบการชุมชนนำดิจิทัลมาใช้งาน เช่น กิจการปลูกปาล์ม โดยมีมือถือเป็นเครื่องมือสั่งการ แล้วนำ “เดต้า”มาควบคุมการเพาะปลูกจัดการฟาร์มผลผลิตปาล์ม
นอกจากนี้ ในกลุ่มเอสเอ็มอี ที่เป็นนิติบุคคล มีการปรับเปลี่ยนด้านเครื่องจักรการผลิตขนาดเล็กและกลาง สิ่งนี้สตาร์ทอัพ ได้ลงไปทำงานให้เครื่องยนต์ เครื่องจักรสามารถมีข้อมูลเป็นมันสมองใหม่คือ เอไอ (AI) สำหรับใช้สั่งการเพิ่มมากขึ้น แล้วเกิด Platform และ Non-Physical เพื่อทำงานตามความต้องการของลูกค้า เพราะในอนาคตไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าแล้วมาสต็อกจัดเก็บ แต่ปรับเปลี่ยนสู่การผลิตตามการสั่ง ทำให้สิ่งของเสียหายลดลง
พร้อมทั้ง ยังนำมาใช้กับการจัดการคิว (เข้าคิวรอคอย) ต่างๆ ซึ่งคนไทยมีความอดทนในการรอคอยสั้นลงอย่างมาก ดังนั้น เทคโนโลยีจึงนำมาตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่ต้องการรอคอย สิ่งนี้จึงเป็นการเปลี่ยนสู่วิถีใหม่ (New Normal)
โลกอนาคตแบบวิถีใหม่ที่เป็น Non-Physical และเปลี่ยนแปลง Platform ซึ่งกลุ่มลูกค้าจะต้องประสบกับสถานการณ์ใน 5 เรื่องนี้ คือ ใช้เวลาน้อยลง ใช้คนน้อยลง มีต้นทุนลง การผลิตที่มากขึ้น ถึงมือผู้บริโภคเร็วขึ้นภายใต้ต้นทุนที่ต่ำลง มีสินค้าและบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีความจำหรือการรอคอยสั้น ประกอบกับมีการแข่งขันจากภายนอกเข้ามาโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งต้องสร้างประสบการณ์ด้วยเนื้อหาที่ดีด้วยเรื่องราวให้ลูกค้า
ส่วนองค์ประกอบเกิดการแข่งขันในด้านราคา มีความรวดเร็ว และความแตกต่าง สิ่งเหล่านี้ยังดำรงอยู่ในการสร้างจุดขายยังต้องดำรงอยู่ แต่เปลี่ยนเพียงการทำงานจาก Physical เป็น Non-Physical หรือเปลี่ยนจากการทำงานที่ไม่มีรูปแบบมามีรูปแบบเชื่อมโยงลูกค้าและมียุทธศาสตร์การทำงานที่ดี
สำหรับการประยุกต์ใช้ดิจิทัลในชุมชนนั้น ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโยบี IoT (ไอโอที) คือ อุปกรรณ์ที่ช่วยสั่งการผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น อินเตอร์เน็ต นอกจากนี้มี โดรน ไว้คอยเก็บข้อมูล ตลอดจนมีแอปพลีเคชั่น และการสร้างเนื้อหาในรูปแบบใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านนี้ไม่ไกลตัว โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการนำไปใช้แล้ว 1,000 กว่าราย เช่น นำไปใช้กับโรงเพาะเห็ด การควบคุมระบบน้ำ การแจ้งเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น สิ่งนี้เป็นบริการแบบวิถีใหม่ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม DEPA พร้อมสนับสนุนชุมชน โดยแบ่งให้การส่งเสริมในลักษณะกลุ่มธุรกิจชุมชน เช่น วิสาหกิจหรือกลุ่มอาชีพ ส่วนกลุ่มเกษตรกรเน้นผู้ประกอบการรายเดียว และชุมชนที่มีสมาชิกตั้งแต่ 20 หลังคาเรือนขึ้นไปรวมตัวกัน
การสนับสนุนไม่ได้เน้นที่การจัดอบรมความรู้ แต่มุ่งไปในด้านให้เงินจำนวนหนึ่งไปใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แม้เงินอาจน้อย แต่เกิดผลกระทบที่แรง มีการบอกกล่าว แล้วเกิดระบบการค้าที่ดีด้วยตัวเอง
ส่วนคุณสมบัติผู้ขอการสนับสนุน โดย DEPA มีหน่วยร่วมคัดกรองพิจารณาภายใต้ให้ใช้บริการตาม DEPA กำหนด จึงมั่นใจว่าจะเกิดความคุ้มค่า เพราะเกิดการใช้งานจากผู้ให้บริการตัวจริง มีการหมุนเวียนในชุมชน และเกิดชีวิตที่ดีขึ้น
การสนับสนุนเงินนั้น DEPA ให้ฟรี ในวงเงิน 200,000 บาท ถ้าเป็นครุภัณฑ์เกิน 5,000 บาทต้องออกคนละครึ่ง เป็นต้น
กลับสู่หน้าหลัก โครงการผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลง คลิก

ติดตามข้อมูลข่าวสานของมูลนิธิสัมมาชีพเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.facebook.com/sammachiv