skip to Main Content
02-530-9204 sammachiv.pr@gmail.com
รางวัลวิสาหกิจชุมชน – สัมมาชีพ “กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก”

รางวัลวิสาหกิจชุมชน – สัมมาชีพ “กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก”

ข้อมูลประกอบการพิจารณา “รางวัลวิสาหกิจชุมชน – สัมมาชีพ”
ประเภท          การเงิน
องค์กร            กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก
ผู้นำองค์กร     นางสำรวย  โล่ห์นารายณ์        

ความเป็นมา

ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตำบลที่แยกออกจากตำบลนางรอง เมื่อปี พ.ศ 2524 ขณะนั้นแบ่งการปกครองออกเป็น 16 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ 2528 ได้มีการขยายเขตเทศบาลเข้าไปในพื้นที่ตำบลถนนหัก จำนวน 6 หมู่บ้าน ปัจจุบันมี 13 หมู่บ้าน ในปีพ.ศ. 2540 ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  ตำบลถนนหักอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนางรอง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัด 54 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 19,373 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 13,787 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัย จำนวน 5,586 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบและที่นา     อาชีพของคนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีอาชีพหลัก ทำนา และอาชีพเสริม อุตสาหกรรมในครัวเรือน  กองทุนชุมชนบ้านถนนหักได้จดทะเบียนนิติบุคคลปี 2550 และในปีถัดมา ได้รับการอบรมและจัดตั้ง “สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ :

     กองทุนชุมชนบ้านถนนหักเริ่มต้นจากการได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 1 ล้านบาท เมื่อปี2544 หลังจากนั้นได้รับการเพิ่มทุน 100,000บาท จากการประเมินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นระดับ 3A ต่อมาปี 2552 ได้รับการเพิ่มทุนระยะที่ 2 ตามขนาด S M L จำนวน 600,000 บาท และปี 2556 ได้รับการเพิ่มทุนระยะที่ 3  เป็นเงิน 1 ล้านบาท กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก ได้รับเงินรัฐบาลจัดสรรให้ทั้งสิ้น 2,700,000 บาท  ในปี 2551 ได้ทำการซื้อที่ พร้อมทรัพย์สิน คือ อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น และอาคารพาณิชย์ และอาคารเอนกประสงค์ และที่ดิน อีก 5แปลง ทรัพย์สินอื่นๆ รวมมูลค่าของทรัพย์สินประมาณ 11 ล้านบาท ให้เป็นมรดกชุมชนบ้านถนนหักสืบไป  กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก ได้รับเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ทั้งสิ้น 2,700,000 บาท สำหรับเป็นเงินตั้งต้นการทำงานถนนหักสู่สถาบันการเงินชุมชน/สถาบันการเรียนรู้ด้วยชีวิตที่พอดี  อยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักยุทธศาสตร์ 3 ก้าว คือ

      ก้าวที่ 1  เป็นกองทุนที่เดินได้ด้วยเงินออมหรือเงินฝากของสมาชิก
      ก้าวที่ 2  เป็นสถาบันการเงินชุมชนที่พึ่งพาได้ สำหรับคนเข้ามาพึ่งพาอาศัย  มีการทำงานที่คล่องตัว และการขยายโอกาสการเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่       ก้าวที่ 3  เป็นสถาบันเรียนรู้เรื่องการสร้างกองทุน  สามารถนำประสบการณ์ไปสู่การบอกเล่าและสอนให้ผู้คนที่สนใจได้ดำเนินการเพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน
ด้านการให้บริการ กองทุนมีรูปแบบการบริการที่หลากหลาย  ครบวงจร คือ
1. ฝากเงิน-ถอนเงิน มีผลิตภัณฑ์ด้านเงินฝาก 14 ประเภทรายการเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกฝากได้ตามต้องการ
2. ปล่อยเงินกู้หรือสินเชื่อ ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อให้ประชาชนที่เป็นสมาชิกได้เลือกใช้ตามกรอบเวลาและอาชีพของตนได้จำนวน 21 ประเภท มีบริการช่วยเหลือเงินกู้ระยะสั้น และรับชำระคืนเงินกู้
3. รับจัดทำประกันชีวิต และสวัสดิการทั้งรายบุคคล และรายครอบครัว
4. เป็นจุดบริการงานต่างๆ เช่น เป็น Bank Agent ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  รับโอนเงินด้วยระบบอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง รับชำระค่าสาธารณูปโภคด้วยระบบ M-pay และระบบ MyMo  เติมเงินมือถือ AIS, ดีแทค และ ทรู  รับส่ง Fax  ถ่ายเอกสาร
5. จำหน่ายสินอุปโภค-บริโภค
6. ขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบและช่วยเหลือ ขึ้นทะเบียนรับเรื่องราวร้องทุกข์ ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง
7. ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศูนย์การสอนขององค์กรการศึกษา ห้องประชุม/สัมมนา จำนวน 4 ห้อง และห้องสมุดบริการ ศูนย์ประชาสัมพันธ์งานของชุมชน
8. มีลานกีฬาและอุปกรณ์การออกกำลังกาย มีเวทีจัดการแสดงให้ประชาชนทั่วไปใช้จัดกิจกรรม และเป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์งานของชุมชน

การจัดองค์กร : 

         กองทุนได้กำหนดให้มีการแบ่งสมาชิกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 สมาชิกประเภทบุคคล มีทั้ง  สมาชิกสามัญ คือคนในชุมชนบ้านถนนหัก ทุกประเภททุกวัย สามารถเป็นสมาชิกได้ด้วยการฝากเงิน แต่กำหนดการกู้เงินได้ครัวเรือน 1 คน และสมาชิกสมทบ คือสมาชิกที่อยู่นอกชุมชนบ้านถนนหัก แต่อยู่ในตำบลถนนหัก และเทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 47 หมู่  ประเภทที่ 2 สมาชิกประเภทกลุ่ม/องค์กร

          ปัจจุบันมี คณะกรรมการจำนวน 14 คน  และพนักงานของสถาบันจำนวน 6 คน อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่สูงสุดอยู่ที่สมาชิกที่เป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสีย โดยการคัดเลือกคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเป็นฝ่ายบริหารกองทุน โดยให้รับผิดชอบตามตำแหน่งหน้าที่ ต่างๆ และกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการคัดเลือกบุคคลมาทำหน้าที่บริหารจัดการสถาบันการเงิน และกิจกรรมอื่นๆของกองทุน สุดท้ายก็ส่งอำนาจคืนสู่สมาชิกในตอนประชุมใหญ่สามัญประจำปี

ในการปฏิบัติงาน กองทุนจัดให้คณะกรรมการปฏิบัติงานวันละ 1 คน เพื่อควบคุมดูแลพนักงาน มีการแต่งตั้งกรรมการเป็นผู้ตรวจสอบภายใน  และแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายนอกจากการคัดจากเวทีประชุมใหญ่สามัญประจำปี  ระบบเอกสารที่เกี่ยวข้องมีการจัดไว้อย่างเป็นระบบ และผ่านตรวจสอบจากคณะกรรมการ/ผู้จัดการ มีการประชุมประจำเดือน ทั้งฝ่ายพนักงานและคณะกรรมการ

 

ระบบการเงิน

1) ใช้ระบบโปรกแกรมบัญชีสถาบันการเงิน สนับสนุนโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธกส) เป็นระบบการเงินที่สมบูรณ์  สามารถทราบสถาบันการดำเดินงานแบบรายวัน
2) มีระบบงานทะเบียนคุมการเงินทุกประเภท ทั้งระบบมือและเครื่อง
3) มีระบบการทำบัญชี โดยใช้ โปรแกรมที่ร่วมกันพัฒนากับ ธ.ก.ส.
4) มีใบเสร็จรับ-ใบเสร็จจ่าย ควบคุมเรียงลำดับเล่มในปัจจุบันใบเสร็จทุกประเภท ระบบโปรแกรมการเงินและพิมพ์ของมาจากระบบ
5)มีระบบการทำบัญชี รับ-จ่าย ทะเบียนคุมเงินสดรายวัน ทะเบียนคุมเงินใน
6)ตู้เซฟ ทะเบียนคุมลุกหนี้ ทะเบียนคุมการชำระคืน ทะเบียนคุมทรัพย์สิน
7)มีการเก็บเอกสารด้านการเงินแยกประเภท ตามปีที่ชัดเจ โดยเก็บไว้ในห้องทีมีกล้องวงจรปิด
8)มีระบบกล้องวงจรปิด
9)เอกสารเผยแพร่จะถูกตั้งให้สมาชิกสามารถตรวจสอบได้
10) มีสมุดคู่มือเงินฝาก สมุดคู่มือเงินกู้ สมุดคู่มือการชำระคืนเงินกู้ สมุดคู่มือสวัสดิการต่าง ๆ
11) มีตู้เซฟขนาดใหญ่/เล็ก
12) มีเครื่องตรวจนับเงิน เช็คแบงค์ปลอม
13) เครื่องนับเงินเหรียญ และแยกเหรียญ
14) ปิดงบดุลเป็นรายเดือนและรับรอง
15) ป้ายประกาศ 2 ประเภท ติดถาวร และแบบชั่วคราวเปลี่ยนตลอดเวลา

 

ด้านร้านค้าสวัสดิการ เป็นกิจกรรมภายใต้การดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชน ต้นแบบ กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก

1) การควบคุมการขายด้วยใช้ระบบโปรแกรมร้านประชารัฐ
2) ให้บริการสินค้า อุปโภคบริโภค วัสดุการเกษตร น้ำดื่มบริสุทธิ์ ตรากทบ.กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก
3) ขายสินค้าทั้งระบบเงินสดและเงินเชื่อผ่านบัตรสินเชื่อสถาบันการเงินชุมชนบ้านถนนหัก
4) มีระบบของการกำไรสู่สมาชิก ด้วยการเฉลี่ยคืนทุกครั้งเมื่อซื้อสินค้า เรียกว่าการเฉลี่ยคืนตามสัดสวนของการซื้อสินค้า)
5) มีระบบการคืนกำไรสู่สมาชิกเมื่อสิ้นปีทางบัญชี ด้วยระบบการจัดสรรกำไรสุทธิ ปันผลคืนตามสัดส่วนของการถือหุ้น

 

การบริหารความเสี่ยง

การออกแบบการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ
การวางโครงสร้างที่กระจายความรับผิดชอบ
การออกแบบการมีส่วนร่วมในการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ได้รับการยอมรับ
การใช้ เทคโนโลยีช่วยงาน  ในการสร้างระบบการควบคุมภายใน
การบูรณาการเชื่อมโยงกับ องค์กรเครือข่ายพันธมิตร   การเปิดเผยข้อมูลโดยโปร่งใส
การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเป็นศูนย์เรียนรู้
การวางระบบการสร้างผู้นำในรุ่นต่อไป 2.6.1 ระบบการเงิน

 

กองทุน/สถาบันการเงิน

1) ใช้ระบบโปรกแกรมบัญชีสถาบันการเงิน สนับสนุนโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) เป็นระบบการเงินที่สมบูรณ์        สามารถทราบสถาบันการดำเดินงานแบบรายวัน
2) มีระบบงานทะเบียนคุมการเงินทุกประเภท ทั้งระบบมือและเครื่อง
3) มีระบบการทำบัญชี โดยใช้ โปรแกรมที่ร่วมกันพัฒนากับ ธ.ก.ส.
4) มีใบเสร็จรับ-ใบเสร็จจ่าย ควบคุมเรียงลำดับเล่มในปัจจุบันใบเสร็จทุกประเภทระบบโปรแกรมการเงินและพิมพ์ของมาจากระบบ
5)มีระบบการทำบัญชี รับ-จ่าย ทะเบียนคุมเงินสดรายวัน ทะเบียนคุมเงินใน
6)ตู้เซฟ ทะเบียนคุมลุกหนี้ ทะเบียนคุมการชำระคืน ทะเบียนคุมทรัพย์สิน
7)มีการเก็บเอกสารด้านการเงินแยกประเภท ตามปีที่ชัดเจ โดยเก็บไว้ในห้องทีมีกล้องวงจรปิด
8)มีระบบกล้องวงจรปิด
9)เอกสารเผยแพร่จะถูกตั้งให้สมาชิกสามารถตรวจสอบได้
10) มีสมุดคู่มือเงินฝาก สมุดคู่มือเงินกู้ สมุดคู่มือการชำระคืนเงินกู้ สมุดคู่มือสวัสดิการต่าง ๆ
11) มีตู้เซฟขนาดใหญ่/เล็ก
12) มีเครื่องตรวจนับเงิน เช็คแบงค์ปลอม
13) เครื่องนับเงินเหรียญ และแยกเหรียญ
14) ปิดงบดุลเป็นรายเดือนและรับรอง
15) ป้ายประกาศ 2 ประเภท ติดถาวร และแบบชั่วคราวเปลี่ยนตลอดเวลา

 

การมีส่วนร่วมของชุมชน

ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ถูกจัดตั้งขึ้นโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ที่ให้ความเห็นชอบจึงจะสามารถดำเนินการได้  โดยการดำเนินการดังนี้
1.ร่วมคิด ก่อนจะตัดสินใจดำเนินการโครงการหนึ่งโครงการใดจะต้องเรียนประชาชนในชุมชนหรือสมาชิก  เข้าร่วมปรึกษาหารือ และเสนอความคิดเห็นในหลากหลานรูปแบบและหลายทางเลือก
2. ร่วมกันตัดสินใจ ด้วยการลงคะแนนหรือยกมือเห็นชอบ โดยหลักร้อยละ 75 ที่เห็นชอบจึงจะดำเนินการ
3.ร่วมกันแก้ไขปัญหา เมื่อดำเนินการไปแล้ว ต้องมีการพูดคุย ส่วนในที่เป็นปัญหาก็ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา ไม่มานั่งโทษคนโน้นคนนี้ แต่จะร่วมกันหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขร่วมกันต่อไป
4. ร่วมกันรับผิดชอบ ด้วยกระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานและคณะทำงาน
5. ร่วมตรวจสอบ นอกจากจะแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและ ประชาชนหรือสมาชิกต้องร่วมกันสอดส่องดูแลทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ถูกจัดตั้งขึ้นโดยเสียส่วนใหญ่ของประชาชน ที่ให้ความเห็นชอบจึงจะสามารถดำเนินการได้

[table “6” not found /]
Back To Top