skip to Main Content
02-530-9204 sammachiv.pr@gmail.com
ผู้นำ: นำสร้างรายได้เสริมเข้าชุมชน
Communication chat icon above cityscape in the night light of the city.

ผู้นำ: นำสร้างรายได้เสริมเข้าชุมชน

ผู้นำ: นำสร้างรายได้เสริมเข้าชุมชน

     นายรักพงษ์ เซ่งเจริญ ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) บรรยายเรื่อง“กองทุนหมู่บ้าน”ยกระดับผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาด พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน” ในระหว่างการอบรมผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 11 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

 

     นายรักพงษ์ กล่าวว่า การไปพัฒนาชุมชนนั้นต้องเข้าใจความเป็นชุมชนทั้งนิยามและความเป็นอยู่ โดยนิยามชุมชนสำหรีบตนแล้วมองว่าหมายถึงหมู่บ้าน ส่วนเศรษฐกิจฐานรากมีความหมายว่า การยกระดับวิถีชีวิตให้คนในหมู่บ้านมีชีวิตดีขึ้น

 

     อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ดีขึ้นต้องทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับมีรายจ่ายน้อยลง แต่การวัดด้วยรายได้อย่างเดียวไม่ถูกต้องเสมอไป ควรพิจารณาถึงงบทางบัญชีด้วย เพราะ การทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ต้องเริ่มต้นจากทำให้สินค้าที่มีอยู่ขายได้

 

     สิ่งสำคัญกับการขายสินค้าได้นั้น ควรคิดจัดกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชุนมาเป็นส่วนเสริม แล้วนำสินค้าหลักของชุมชนมาประกอบส่วน โดยสินค้าชุมชนส่วนใหญ่มักเป็นประเภทข้าวสาร อาหารที่จำเป็นต่อชีวิต รวมทั้งสินค้าที่เป็นคุณลักษณ์หรือเอกลักษณ์ชุมชน ดังนั้นถ้าอยากช่วยชาวบ้าน ด้วยการซื้อสินค้า เช่นข้าวต้องซื้อให้แพงขึ้น เนื่องจากปัญหาเกษตรคือ ข้าวมีราคาถูก ด้วยเหตุนี้การช่วยเหลือต้องให้ราคาแพงขึ้น เกษตรกรจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น

     นายรักพงษ์ กล่าวว่า การพัฒนาสินค้าชุมชนให้ขายได้มากขึ้นเท่ากับเป็นการสร้างอาชีพเสริม หากส่งเสริมให้ขายควบคู่กับกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน โดยพยายามเน้นถึงการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชุน จะทำให้มีรายได้ดีขึ้น ถึงที่สุดต้องเน้นย้ำว่า ท่องเที่ยวไม่ใช่กิจกรรมหลักกับการดำรงอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน

 

     “การดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน ต้องเป็นวิสาหกิจชุมชน อาจใช้รูปแบบของประเทศญี่ปุ่นมาบริหารจัดการได้อย่างมีคุณภาพ โดยชุมชนกำหนดให้จองโปรแกรมท่องเที่ยวล่วงหน้า เพราะชุมชนสามารถจัดสรรและควบคุมการบริการได้สะดวกขึ้น ดังนั้น กระบวนการจัดท่องเที่ยวชุมชน จึงควรให้คนชุมชนเริ่มคิดโปรแกรมเอง แล้วให้นักท่องเที่ยวจอง พร้อมกับกำหนดแหล่งนำเที่ยว รวมทั้งเน้นจุดบริการ ซื้อขายสินค้าก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่หมู่บ้าน”

 

     นอกจากนี้ การช่วยสร้างรายได้สินค้าชุมชน อย่าพยายามคิดแปรรูปอย่างเดียว แต่ควรหันมาเน้นด้านการขนส่งไปสู่ตลาดที่ไกลขึ้น และการเก็บรักษาสินค้าได้นาน ทั้งนี้เพราะเมื่อขายออนไลน์มากจะประสบปัญหามีค่าใช้จ่ายการขนส่ง ถูกดึงแบ่งออกนอกพื้นที่

     ตนมีข้อเสนอให้จัดทำ “ไลน์คิวขนส่งหมู่บ้าน” มาจัดระบบธุรกิจของชุมชน หรือสร้างกิจกรรมอื่นมาเป็นรายได้เสริมก้ได้ เช่น สร้างกลุ่มไลน์งานแม่บ้าน ถ้าใครต้องการทำความสะอาดบ้านก็แสดงความต้องการผ่านกลุ่มไลน์ เป็นต้น สิ่งนี้เท่ากับไม่ทำให้รายได้ถูกแบ่งออกนอกชุมชน

 

     นายรักพงษ์ กล่าวว่า กทบ.มีกองทุนรวม 79,604 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีสมาชิกประมาณ 12.9 ล้านครัวเรือน โดยให้แต่ละกองทุนรวบรวมสินค้า หรือจัดธุรกิจชุมชนขึ้นมาย่อมทำให้เกิดรายได้วนเวียนอยู่ในชุมชน เช่น ธุรกิจน้ำดื่มชาวบ้าน โดยในภาพรวมแล้วธุรกิจน้ำดื่มมีมูลค่าทั้งประเทศกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งครอบครองโดยกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่

 

     ดังนั้น ถ้าชุมชนสร้างธุรกิจนี้ขึ้นมาและวางแผนตลาดระหว่างชุมชนด้วยกัน จะทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง สิ่งเหล่านี้เป็นการเสนอเพื่อให้เกิดการทำเศรษฐกิจฐานราก และเกิดความหมุนเวียนในการใช้จ่าย ดังนั้น คงต้องสำรวจก่อนว่า ในชุมชนมีสินค้าอะไรที่จะพัฒนาเป็นสินค้าสร้างรายได้

     สำหรับการช่วยเหลือชุมชนนั้น ควรเน้นไปที่ชุมชนเมืองก่อน เพราะมีปัญหามากกว่าชุมชนต่างจังหวัด เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานรับจ้าง อีกทั้งการส่งเสริมรายได้เพิ่มนั้น อาจหาแหล่งประวัติศาสตร์ที่มาของชุมชนส่งเสริมให้เป็นสินค้าท่องเที่ยว เป็นต้น

 

     รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://www.right-livelihoods.org/chanchage-leadership/%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b3-%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%87-%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-11/</span


กลับสู่หน้าหลัก โครงการผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลง คลิก


ติดตามข้อมูลข่าวสานของมูลนิธิสัมมาชีพเพิ่มเติมได้ที่:

https://www.facebook.com/sammachiv

https://www.facebook.com/chumchonmeedee

https://www.youtube.com/user/RightLivelihoods</span

Back To Top