กทบ. แก้จนคนรากหญ้า
กทบ.แก้จนคนรากหญ้า
“รักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ”รับตราตั้งเป็น “ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.)” เมื่อกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีบทบาทขับเคลื่อนนโบายรัฐบาลพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก มุ่งหวังนำพากองทุนหมู่บ้าน 79,604 แห่ง สมาชิก 13 ล้านคน ได้งบประมาณจากรัฐประมาณ 35,000 ล้านบาท ไปผลักดันสู่เป้าหมายให้ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น นั่นเท่ากับรับภารกิจแก้จนคนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นงานใหญ่
สำหรับตัวตน เขาวางตัวเองเป็นแค่ “นักปฎิบัติ” ไม่ใช่ “พวกทฤษฎี” โดยยึดมั่นกับการลงมือลุยจึงเป็นงานถนัดบนหลักการจัดลำดับทำงาน“เร็ว ช้า หนัก เบา” ผสมส่วนด้วยการบริหารเวลา“คุยให้เข้าใจก่อนไปประชุมย้ำถึงภาพรวม”ในเวทีใหญ่
การเรียนรู้งานนักปฎิบัติ “รักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ” ผ่านประสบการณ์มามากโขพอตัว อดีตเขาเป็นผู้บริหาร NCC Management & Development Co., Ltd ดูแลบริหารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์และศูนย์ประชุมนานาชาติ
นอกจากนี้ เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมัยนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็น “ผู้ติดตาม” หนึ่งในทีมคนใกล้ชิดของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาหลายสมัยในงานการเมือง รวมทั้งผ่านการเรียนรู้งาน กทบ.ในฐานะ “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” มาด้วย
งานที่เคยผ่านทั้งหมดทั้งปวงนั้น“รักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ” มีบทบาทแค่มือรองไม่ใช่เบอร์หนึ่งขององค์กร เมื่อมารับตำแหน่ง ผอ.กทบ. ซึ่งเป็นตำแหน่งในบทบาทผู้นำองค์กรครั้งแรกอย่างเต็มรูปแบบ แต่ไม่เป็นปัญหาอุปสรรคเท่าใดนัก เพราะผ่านประสบการณ์รู้เนื้องาน กทบ.มาแล้ว ดังนั้นข้อมูลองค์กรจึงแน่นในระดับรับตำแหน่งปั๊บลุยงานได้ทันที ไม่มีคำอ้างแบบพวกยึด “ทฤษฎี”มักขอเวลาศึกษางานก่อน
เนื้องานพัฒนา กทบ.ในสมองของเขา จัดวางรูปแบบแนวคิดเชิงเปรียบเทียบ ปรับเปลี่ยน พัฒนาแข่งขันรองรับ โดยวิธีพื้นฐานนำหมู่บ้านเทียบเคียงหมู่บ้านใกล้เคียง จังหวัดต่อจังหวัด แล้วก่อรูปพัฒนากองทุนระดับประเทศ ซึ่งรวมความแล้ว เขามีโจทย์คิดทำงานจากความต้องการของชุมชนมาก่อนสนองความต้องการขององค์กรส่วนกลางที่เขารับผิดชอบ
อีกอย่าง พยายามผลักดันงานแบบผสมผสานอาชีพเสริม ใช้หลักคิดตาม “โมเดลอัมพวา”มาเป็นต้นแบบการนำกองทุนหมู่บ้านไปสู่เนื้องานที่ลักษณะท่องเที่ยวมารองรับ ไม่ใช่เน้นในกระบวนการผลิตสินค้าชุมชนเป็นการเฉพาะ ดังนั้น การเกิดวิถี “ไกด์”พาท่องเที่ยวชุมชนจะเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนแบบง่ายๆ
วิถี“โมเดลอัมพวา”นั้น เท่ากับปรับบทบาทใหม่ของ กทบ. จากเป็นแหล่ง “เงินด่วน” กระจายให้คนในหมู่บ้านได้จัดสรรทำงาน มาสู่เป้าสร้างผลลัพธ์ใหม่“สร้างรายได้” จากการท่องเที่ยวโดยร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมาร่วมคิดสร้าง ซึ่งขณะนี้มีกองทุนหมู่บ้านกว่า 60 แห่ง เกิดการท่องเที่ยวชุมชนถึงกว่า 7 ล้านคน แล้วมีเม็ดเงินลงพื้นที่จริงเพื่อหมุนให้ฟื้นเศรษฐกิจประเทศได้ในระดับเศรษฐกิฐรากหญ้าเป็นเครื่องจักรขนาดเล็กทำงาน
ไม่เพียงเท่านั้น “รักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ” เสนอเปลี่ยน กทบ.จากหน้าที่ “ปล่อยกู้”ให้หมู่บ้าน ไปสู่บทบาทใหม่ด้วยการส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านไปถึงเป้าหมายรวมกลุ่มกันแบบ “นิติบุคคล” สามารถทำนิติกรรมผลิต จำหน่ายสินค้าให้กันและกัน หรือใครก็ได้ นอกจากนี้ต้องมี Logistics และเทคโนโลยี มาสนับสนุนยกระดับผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาด และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้รวดเร็วอีกช่องทางหนึ่ง
สิ่งสำคัญ ในสถานการณ์โควิด-19 เงินกู้ 400,000 ล้านบาทที่รัฐบาลจะใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนนั้น เงินจำนวนนี้ กทบ.เสนอโครงการใช้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท มาสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนได้แบ่งเบาปัญหาปากท้องชาวบ้านได้ในยามหมู่บ้านผจญกับวิกฤเศรษฐกิจลุกลาม และ“รักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ” บอกว่า เขาเตรียมแผนการใช้เงินกระตุ้นรายได้ชุมชนไว้พร้อม เพื่อให้ชาวบ้านเสนอแผนงาน แล้วลงมือทำกันใน 7 หมื่นกว่าหมู่บ้านที่มีศักยภาพในการผลิตข้อมูลออกมา
ด้วยแนวคิดดังกล่าวเป็นเพียงคร่าวๆที่อยู่ในสมองของ“รักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ” ซึ่งเสนอให้สาธารณะรับรู้ในบทบาท ผอ.กทบ.คนใหม่จะเข้าไปสานงานผลักดันกองทุนหมู่บ้านในวาระที่ดำรงตำแหน่งอยู่ และเขาพร้อมถ่ายทอดเนื้องานด้านลึกของ กทบ.ในการอบรมหัวข้อ “กองทุนหมู่บ้าน ยกระดับผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาด พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน” ที่มูลนิธิสัมมาชีพ เป็นแม่งาน
“รักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ” คือวิทยากรอีกคนหนึ่งจะให้ความรู้กับโครงการอบรมผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 11 จัดขึ้นที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่เสาร์ที่ 31 ตุลาคม นี้จนไปสิ้นสุดการอบรมวันที่ 29 พฤศจิกายน นี้…โปรดเตรียมตัวเป็นส่วนร่วมอบรม ตามวัน เวลา และโปรแกรมได้กำหนดไว้